top of page

ผลงานวิจัย เรื่องอบเชยกับโรคเบาหวาน


อบเชยเป็นพืชที่มีแทนนินสูง มีรสฝาด แพทย์แผนไทยจึงผสมลงไปในยาหอมต่างๆ ใช้ในอาการจุกเสียด แน่นท้อง หรือใช้ในการทำยานัตถุ์ สูดดมแล้วสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย กินแก้โรคท้องร่วง เพราะมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร และสลายไขมัน

นักวิจัยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมัลโมแห่งสวีเดนพบว่า การเหยาะอบเชย ลงไปในขนมหรือของหวานที่กินประจำวัน จะช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในเลือดให้คงที่ การทดลองโดยนำอาสาสมัครที่แข็งแรงดีกลุ่มหนึ่ง มากินอาหารหรือขนมหวาน 1 ชาม แล้วเหยาะอบเชยผงลงไป 1 ช้อนชา พบว่ามีสรรพคุณช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำ จากการวัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ภายหลังจากกินขนมไปแล้วพบว่า เพิ่มขึ้นอีกไม่มากเท่าใด ดร.โจนนา เลโบวิคซ์ กล่าวว่า อบเชยอาจจะไปออกฤทธิ์ถ่วงการเดินทางของอาหาร จากกระเพาะไปยังลำไส้ให้เนิ่นนานออกไป นักวิจัยรายงานผลการศึกษาในวารสารศึกษา "โภชนาศาสตร์คลินิกอเมริกัน" ได้ยืนยันหลักฐานจากการศึกษาที่แล้วมาว่า อบเชย มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน อันเป็นโรคเกิดจากอาการดื้อกับฮอร์โมนอินซูลินของร่างกาย อบเชยยังมีคุณสมบัติพิเศษป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน และยังมีคุณลักษณะเป็นอาหารต้านจุลชีพ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้

ดร.ริชาร์ด แอนเดอร์สัน ได้แนะนำอาสาสมัครของเขาที่ป่วยเป็นเบาหวาน ให้ลองใช้อบเชยเป็นประจำ ปรากฏว่ามีอาสาสมัครนับร้อย ได้รายงานผลดีกลับเข้ามาว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ อบเชยช่วยเร่งให้การสันดาปน้ำตาลกลูโคสเพิ่มขึ้น 20 เท่า นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าการกินอบเชยนั้นไม่มีอันตราย การทดลองกินเองแต่ละบุคคลนั้น หากได้ผลดีก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเกินคาด ทั้งยังเป็นยาที่เป็นสารธรรมชาติ และในรายที่ไม่ได้ผลดี ก็ไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด อบเชยทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการให้สัญญาณอินซูลิน (Insulin-Signaling System) และอาจเป็นการดีถ้าอบเชยได้ทำงานก่อนที่จะนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ทั้งยังสามารถใช้อบเชยร่วมกับอินซูลินได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่าสาร MHCP สามารถลดความดันโลหิตของสัตว์ทดลองได้ และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกด้วย

แม้ว่าอบเชยจะยังไม่สามารถขึ้นทะเบียนใช้แทนยาได้ แต่ ดร.แอนเดอร์สัน ก็แนะนำว่าควรทดลองใช้ 1/4 ถึง 1 ช้อนชาต่อวัน เมื่อคำนวณดูแล้ว 1 ช้อนชาหนักประมาณ 1200 มิลลิกรัม ดังนั้น 1/4 ข้อนชา จึงประมาณเท่ากับ 300 มิลลิกรัม สามารถบรรจุลงในแคปซูล หมายเลข 1 ได้กำลังพอดี ขนาดที่ควรใช้ก็คือ 1 แคปซูล ทุกมื้ออาหาร วันละ 4 มื้อ ในกรณีที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่บิดามารดาเป็นเบาหวาน ควรรับประทานพร้อมกับอาหารมื้อใหญ่ วันละ 1-2 เม็ด ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารและขับลมได้ด้วย อบเชยชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สันใช้ทดลองนั้นมาจากเปลือกอบเชยจีน จีน คือ Cassia (Cinnamomum cassia) ซึงคล้ายกับชนิดที่มีอยู่ในป่าบ้านเรา ทั้งนี้ ถ้าเป็นอบเชยชวาจะใช้ได้ดีที่สุด

การใช้อบเชยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นวิธีช่วยผู้เป็นเบาหวานโดยใช้สารธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ยิ่งกับเกษตรกรผู้ปลูกอบเชยในเขตเอเชียตอนใต้รวมถึงประเทศไทยด้วย มีหลายฝ่ายคิดว่าอบเชยทีดี คือ อบเชยที่ยังไม่ผ่านการฉายแสงเพื่อฆ่าเชื้อโรค จึงควรนำเปลือกอบเชยแห้งที่ม้วนอยู่เป็นหลอดมาบดให้ละเอียดเก็บไว้ใช้เองหรือจำหน่าย แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้เป็นเบาหวาน คือ จะต้องไม่ลืมเรื่องการงดอาหารที่ไม่ควรบริโภค และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตนตามแพทย์สั่ง และ พบแพทย์ตามนัดหมาย หากใช้อบเชยก็กรุณาบอกให้แพทย์ทราบด้วย

ผลการศึกษาวิจัยการใช้อบเชยในคนได้ตีพิมพ์ในวารสาร เดือนธันวาคม พ.ศ. ผลที่ได้จากการให้อบเชยแก่ผู้ป่วยเบาหวานพบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดีขึ้นระหว่าง จึงเป็นผลที่ยืนยันการศึกษาวิจัยเดิมและน่านำไปใช้เพื่อป้องกัน และใช้ร่วมกับยารักษาเบาหวานต่อไป

นอกจากลดน้ำตาลในเลือดแล้ว อบเชย ยังทำให้ท้องเป็นปกติดี แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยไขมัน (อาจเป็นเพราะไปช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยไขมัน) ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย มีสารต้านแบคทีเรีย และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (ผลงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา)

Source: http://www.travelthaimagazine.com/index.php?lay=show&ac=article_blog&Id=539707711&Ntype=29

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page