top of page

หัวข้อ Echinacea ในการบรรยายประชุมวิชาการกรมพัฒน์ เรื่อง สมุนไพร : ไข้หวัดใหญ่ – ไข้หวัดนก โดย ดร.ภญ

2.3 Echinacea มี 3 ชนิด คือ Echinacea purpurea , Echinacea pallida , Echinacea angustifolia ส่วนที่ใช้ คือ ส่วนเหนือดิน (น้ำคั้น) และราก ประกอบด้วยสารสำคัญ ดังนี้

2.3.1 Alkamides พบในรากและดอก พบมากในรากของ E. angustifolia และพบบ้างในน้ำคั้น E. purpurea

2.3.2 Cichoric acid พบมากใน E. purpurea มีฤทธิ์กระตุ้น phagocytosis ถูกสลายด้วยเอนไซม์ในพืช ปริมาณในแต่ละผลิตภัณฑ์แตกต่างกันได้มาก

2.3.3 Polysaccharides พบมากในน้ำคั้นส่วนเหนือดิน พบสารนี้ 2 ชนิดใน E. purpurea มีฤทธิ์กระตุ้น phagocytosis และเพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระของออกซิเจนจาก macrophage

2.3.4 Glycoproteins พบมากในรากของ E. purpurea และ E. angustifolia มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของ B cells และ macrophage

โดยสารสกัดแอลกอฮอล์กับน้ำ (aqueous ethanol) ของราก Echinacea purpurea, ราก Echinacea pallida, ราก Baptisia tinctoria, ต้น Thuja occidentalis เมื่อให้หนูถีบจักรได้รับสารสกัดในน้ำดื่ม และหยอดไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เข้าจมูกหนู พบว่า สารสกัดดังกล่าวช่วย เพิ่มอัตราการรอดตาย (survival rate) เพิ่มระยะเวลาเฉลี่ยที่มีชีวิต (mean survival rate) ลดปริมาณไวรัสในปอด (viral titer) และ ลดการ consolidation ของปอด

การศึกษา Echinacea เปรียบเทียบกับ ฟ้าทะลายโจร

ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการเป็นยาเสริมเพื่อบรรเทาอาการหวัดในเด็ก 130 คน โดยให้กินยา 10 วัน โดยแบ่งเป็น

กลุ่ม A ใช้ยามาตรฐาน กับ ยา Kan Jang (53 คน) เป็นตำรับยาที่มี standardized extract SHA-10 ของฟ้าทะลายโจรอยู่ด้วย

กลุ่ม B ใช้ยามาตรฐาน กับ ยา Immunal (41 คน) เป็นตำรับยาที่มีสารสกัด E. purpurea

กลุ่ม C ยามาตรฐานอย่างเดียว (39 คน) พบว่า ยาเสริม Kan Jang มีประสิทธิผลดีกว่า Immunal โดยพบอาการของโรครุนแรงน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน้ำมูก และอาการคัดจมูก ช่วยเร่งให้หายเร็วขึ้น ช่วยลดปริมาณการใช้ยามาตรฐานลง เมื่อเทียบกับ กลุ่ม B & กลุ่ม C

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
ยังไม่มีแท็ก
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page