หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งกับการรักษาโรคมะเร็ง กลุ่มงานวิจัย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของประชากรไทยและมีแนวโนมสูงขึ้นทุกๆปี โรคมะเร็งที่ใชในทางการแพทย์ ก็มีแต่ยาแผนปัจจุบันที่มีราคาแพง ซึ่งจะต้องนําเขาจากต่างประเทศทั้งหมดทั้งในรูปยาสําเร็จรูปหรือวัตถุดิบอีกทั้งยังพบว่ามีผลข้างเคียงสูง ทางเลือกอีกทางหนึ่งของผู้ป่วยโรคมะเร็ง จึงหันมานิยมใช้สมุนไพรพื้นบ้านเพื่อนํามารักษาโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ สมุนไพรจากประเทศจีนชนิดหนึ่งซึ่งมีผู้นํามาเผยแพร่ประมาณ 30 ปีมาแล้วและปัจจุบันก็ยังคงนิยมใช้อยู่อย่างแพร่หลายคือหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเรียกชื่อ ภาษาจีนว่า เล่งจือเฉ้าหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdanialoriformis(Hassk) Rolla Rao et Kammathy อยู่ในวงศ์ Commelinaceae เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวแตไม่ใชพืชในวงศ์หญ้าทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 7-10 ซ.ม. และอาจสูงได้ถึง 20 ซ.ม. ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ความยาวไม่เกิน10 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกมีสีฟ้าปนม่วง ใบประดับกลม ยาวประมาณ 4 ม.ม. ร่วงง่าย เป็นพืชที่ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรําไร ไม่ต้องการน้ำมาก เพาะปลูกโดยการเพาะชําหรือเพาะเมล็ดปลูกได้งายและไม่จําเป็นต้องมีเนื้อที่มากตามสรรพคุณของตํารายาจีน จะใช้หญ้าปักกิ่งรักษาโรคในระบบทางเดินหายใจและกําจัดพิษ โดยจะใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน (ลําต้นหรือใบ) ที่มีอายุ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก) ประวัติความเป็นมาของการใช้หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งในประเทศไทย หญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่งหรือเล่งจือเฉ้า เป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกําเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนามีการนําเข้ามาและปลูกแพร่หลายในประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2527 มีผู้ป่วยมะเร็งดื่มน้ําคั้นสดจากหญ้าปักกิ่งเพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง พบว่าสามารถยืดชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันเพื่อลดผลข้างเคียงเนื่องจากการใช้ยาเคมีบําบัดและเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งรายหนึ่งที่แพทย์บอกว่าจะมีชีวิตอยู่อีก 3 เดือน ขอให้นําผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านแต่เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านและดื่มน้ําคั้นจากหญ้าปักกิ่ง หลังจากนั้น 1 ปี ผู้ป่วยดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่และกลับไปให้แพทย์คนเดิมตรวจ ผลจากผู้ป่วยรายนี้จึงทําให้เกิดการศึกษาวิจัยคุณสมบัติของพืชชนิดนี้เกิดขึ้น จุดประสงค์ของการใช้หญ้าปักกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ 1. การใช้หญ้าปักกิ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยมีสรรพคุณว่า - เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งดีขึ้น ลดความทุกข์ทรมาน บางรายมีอายุยืนยาวมากขึ้น - เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงของยาเคมีบําบัดหรือรังสีบําบัด 2. การใช้ในผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็ง - เมื่อผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อใช้หญ้าปักกิ่ง พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น - ผู้ป่วยเป็นแผลเรื้อรัง แผลอักเสบมีหนองหรือน้ําเหลืองไหล เมื่อใช้หญ้าปกกิ่ง พบว่าแผลแห้ง ไม่มีหนองและน้ําเหลือง ผลการวิจัยศึกษาหญ้าเทวดาหรือหญ้าปักกิ่ง สารสําคัญที่ออกฤทธิ์ : น้ำคั้นสดจากหญ้าปักกิ่ง มีสารกลัยโคสฟิงโคไลปิดส์ (จี 1 บี) มีชื่อทางเคมีว่า 1-?-O-D-glycopyranosyl-2 (2’-hydroxy-6’-ene-cosamide)-sphingosine (G1b) งพบสารกลุ่มต่างๆได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน กลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์ และอะกลัยโคน(1-2) ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา: - สารกลัยโคสฟิงโกไลปิดส์ (จี 1 บี) แสดงฤทธิ์ยับยั้งปานกลางต่อเซลล์มะเร็งเต้านมและลําไส้ใหญ่ (SW 120) โดยมีค่า ED50∠16 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร (1-3) - สารจี 1 บี แสดงผลปรับระบบภูมิคุ้มกัน (1-3) - สารสกัดแอลกอฮอล์ของหญ้าปักกิ่งไม่ได้ช่วยยืดอายุ แต่ผลทางพยาธิวิทยาพบว่าสามารถลดความ รุนแรงของการแพร่กระจายของมะเร็งในหนูได้ จึงคาดว่าสารสกัดดังกล่าวอาจใช้ป้องกันการเกิด มะเร็งได้ (1-3) ข-
- สารสกัดหญ้าปักกิ่ง มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ของยีนที่เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์ชนิดต่างๆ เช่น AFB1(4) - สารสกัดหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์เหนี่ยวนำเอนไซม์ DT-diaphorase ซึ่งมีบทบาททำลายสารพิษที่ ก่อให้เกิดมะเร็ง(5-6) ความเป็นพิษ - ความเป็นพิษเฉียบพลัน น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง ไม่ทําให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโตชีวเคมีในเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสําคัญในหนูขาว ค่า LD50 เมื่อให้โดยการป้อนในหนูขาวมากกว่า 120 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ซึ่งเทียบเท่า 300 เท่าของขนาดที่ใช้รักษาในคน จัดว่าค่อนขางจะปลอดภัย - ความเป็นพิษเรื้อรัง พบว่า น้ําคั้